วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ของ McGregor

         

             ทฤษฎี X และทฤษฎี Y เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลในองค์การ ซึ่ง McGregor (อ้างถึงใน สมยศ นาวีการ, 2539, หนา 131) ได้ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีการจูงใจที่รวมการจูงใจภายนอกและภายในไว้ด้วยกัน และได้จำแนกทฤษฎีในการควบคุม การปฏิบัติงาน และเป็นการจูงใจของผู้ปฏิบัติงานไว้ 2 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎี X กล่าวว่า
             1.1 ผู้ปฏิบัติงานส่วนมากเกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน และพยายามหลีกเลี่ยง การทำงานทุกอย่างเท่าที่จะทำได้
             1.2 วิธีการควบคุมผู้ปฏิบัติงานต้องใช้วิธีรุนแรง การใช้อำนาจบังคับ หรือ การขู่บังคับ การควบคุมการเข้มงวดเพื่อให้งานสำเร็จตามวัตถุประสงค์
             1.3 ไม่มีความรับผิดชอบในการทำงาน มีความกระตือรือร้นน้อย แต่ต้องการความมั่นคงมากที่สุด
             ลักษณะของบุคคลตามทฤษฎี X ชี้ให้เห็นว่า โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ไม่ชอบทำงาน พยายามหลีกเลี่ยงงานเมื่อมีโอกาส แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์สนใจประโยชน์ส่วนตัวไปด้วย ดังนั้นผู้บริหารจะต้องพยายามกำหนดมาตรฐานในการควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชา อย่างใกล้ชิดมีการสั่งการโดยตรง การจูงใจจะเน้นค่าตอบแทนด้านรางวัลและผลประโยชน์อื่นๆ การใช้ระเบียบ หน้าที่ และคุกคามด้านการลงโทษที่ผู้บริหารจะเห็นว่าจุดสำคัญของการจูงใจคือ การตอบสนองความต้องการของคนด้วยความต้องการขั้นพื้นฐาน เท่านั้น

2. ทฤษฎี Y กล่าวว่า
             2.1 ผู้ปฏิบัติงานชอบที่จะทุ่มเทกำลังกายใจให้กับงานและถือว่าการทำงานเป็นการเล่นสนุกหรือ

การพักผ่อนทังนี้ย่อมขึ้นอยู่กับลักษณะงานและลักษณะของการควบคุมงาน
             2.2 ผู้ปฏิบัติงานกลุ่มนี้ไม่ชอบการขู่บังคับทุกคนปรารถนาที่จะเป็นตัวของตัวเองชอบคำพูดที่เป็นมิตร

และทำงานตามวัตถุประสงค์ที่เขามีส่วนผูกพัน
             2.3 มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานมีความกระตือรือร้นและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในสิ่งต่างๆ

รวมทั้งยังแสวงหาความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นด้วย
             ลักษณะของบุคคลตามทฤษฎี Y เป็นแนวความคิดที่คำนึงถึงจิตวิทยาของบุคคล

อย่างลึกซึ้งและเป็นการมองพฤติกรรมของบุคคลในองค์การจากสภาพความเป็นจริงโดยเชื่อว่า
การมีสภาพแวดล้อมและการใช้แนวทางที่เหมาะสมจะทำให้บุคคลสามารถปฏิบัติงานได้
ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของตนเองและเป้าหมายขององค์การ  


สรุปว่า Donglas McGregorเห็นว่าคนมี 2 ประเภทและการบริหารคน
ทั้ง 2 ประเภท ต้องใช้วิธีการบริหารแตกต่างกันเช่นถ้าลูกน้องเป็นคนลักษณะ X
มากกว่าลักษณะ Y ต้องควบคุมอย่างใกล้ชิด(Closed Control)แต่ถ้าลูกน้องเป็นคน
ลักษณะ Y มากกว่าลักษณะ X ต้องให้อิสระควบคุมตนเองและมีส่วนร่วมในการทำงาน
(Participation)


เอกสารอ้างอิง
-  สมยศ นาวีการ. (2539). ทฤษฎีองค์กร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สามัคคีสาร (ดอกหญ้า) จำกัด (มหาชน).
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=1895.0

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมโรงเรียน

โครงการขับเคลื่อน
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา

ส.ส.กรรณิการ์  เจริญพันธ์  สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์
เป็นประธานเปิดการประชุมปฏิบัติการ
 โครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา เขต 33
เครื่อข่าย 3  ณ โรงเรียนรัตนบุรี  เมื่อวันที่ 28  มีนาคม  2554


 นายวสันต์  วรรณศักดิ์เศวต ผู้อำนวยการโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์
กล่าวรายงาน วัตถุประสงค์ของโครงการ ต่อ ส.ส.กรรณิการ์  เจริญพันธ์ 
 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุรินทร์ ประธานเปิดการประชุมปฏิบัติการ
เมื่อวันที่ 28  มีนาคม  2554 
บุคลากรทุกโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา เขต 33 เครื่อข่าย 3
เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการ
 โครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
ณ โรงเรียนรัตนบุรี  เมื่อวันที่ 28  มีนาคม  2554
  

ผู้เข้าประชุมร่วมปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม
ทำความเข้าใจหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ณ โรงเรียนรัตนบุรี  เมื่อวันที่ 28  มีนาคม  2554



กิจกรรมวันปัจฉิมนิเทศ
 ม.3 ม.6 ปีการศึกษา 2553

นายวสันต์  วรรณศักดิ์เศวต  ผู้อำนวยการโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์
กล่าวปัจฉิมนิเทศกับนักเรียนที่จะจบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3,6
ประจำปีการศึกษา 2553    เมื่อวันที่ 9  มีนาคม  2554

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3,6  ฟังปัจฉิมโอวาท
จากท่านผู้อำนวยการโรงเรียน ด้วยความซาบซึ้ง 
เมื่อวันที่ 9  มีนาคม  2554

บายศรี จัดเตรียมเพื่อสู่ขวัญนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3,6 
ผลงานนักเรียนน่ะค่ะ สวยมาก ๆ ขอยกนิ้วให้ 
เมื่อวันที่ 9  มีนาคม  2554

นางสาวสุวนันท์  สิมอุตม์  ว่าที่นิสิตแพทย์...
ตัวแทนนักเรียนกล่าวแสดงความรู้สึกที่มีต่อโรงเรียน
เมื่อวันที่ 9  มีนาคม  2554

นักเรียนชมรมนาฏศิลป รำอวยพรให้พี่ ๆ ค่ะ
เมื่อวันที่ 9  มีนาคม  2554

นักเรียนชมรมดนตรี แสดงดนตรีในงานเลี้ยงของรุ่นพี่ เก่งมากจ๊ะ
เมื่อวันที่ 9  มีนาคม  2554

บรรยากาศในงานเลี้ยง ก่อนจบ ม.3 ม.6 
เมื่อวันที่ 9  มีนาคม  2554
บรรยากาศหน้าเสาธง รุ่นน้องมอบของที่ระลึกให้ก่อนจบ
  ด้วยรักและผูกพัน ซึ้งจริงๆ
เมื่อวันที่ 9  มีนาคม  2554

เบื้องหล้งความสวยงามหน้าเวที ก่อนรำอวยพรให้พี่ ๆที่จะจบ
เมื่อวันที่ 9  มีนาคม  2554

บรรยากาศหน้าห้องประชุม รุ่นน้องมอบดอกไม้ให้กับรุ่นพี่
 เมื่อวันที่ 9  มีนาคม  2554

นายรัชพงษ์  อ่อนอก,นายวิขิตชัย  แข่งขัน รองผู้อำนวยการโรงเรียน
ครูผกาวดี  สุวงศ์,ครูลมัย  สวัสดี  เก็บภาพกับนางรำไว้เป็นที่ระลึก
เมื่อวันที่ 9  มีนาคม  2554

ครูสาคร  วัฒนกุลและครูลมัย  สวัสดี
เก็บภาพซุ้มประตูทางเข้า ห้องปัจฉิมนิเทศ
  เมื่อวันที่ 9  มีนาคม  2554

ห้องเรียนคุณภาพ



ห้องเรียนคุณภาพเป็นเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาของประเทศที่สำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งคือด้านคุณภาพการศึกษา ปัจจุบันมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพมาตรฐานโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดแนวทางขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เชิงคุณภาพในระดับปฏิบัติ คือ “ระดับห้องเรียน” โดยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจและทักษะพื้นฐาน เกี่ยวกับ“ห้องเรียนคุณภาพ” ที่มีองค์ประกอบ 5 ประการ ดังนี้
1. นำการเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียน : จะต้องเปลี่ยนแปลงและยกระดับคุณภาพผู้เรียน เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม ชัดเจน เช่นจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน จัดบรรยากาศ สนับสนุนเอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพมาตรฐานและผลสัมฤทธิ์ตามหลักสูตร
2. ออกแบบการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน : ครูเป็นนักออกแบบการจัดหน่วยการเรียนรู้ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ (Lesson Plan) กำหนดผลการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์ริเริ่ม ได้เหมาะสมกับสาระการเรียนรู้ ความแตกต่างและธรรมชาติผู้เรียน ออกแบบการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. การวิจัยในชั้นเรียน(CAR-Classroom Action Research):ครูมีการพัฒนาตนเองโดยใช้ ID Plan เป็นแนวทาง มีการดำเนินการจัดทำ CAR โดยการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล(CAR 1) การประเมินเพื่อพัฒนาผลจากการสอนของตนเอง(CAR 2) การทำ Case Study เพื่อแก้ปัญหาผู้เรียน(CAR 3) การวิจัยเพื่อพัฒนานวัตกรรม(CAR 4)
4. การใช้ ICT เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอน : โรงเรียน ครู นำ ICT มาใช้สนับสนุน การเรียนการสอน เช่นนักเรียนมีการใช้ ICT ในการส่งงานผ่าน E-Mail ผ่านระบบ Lan มีผลงานที่เกิดจากการสืบค้นความรู้จากอินเตอร์เน็ต การทำโครงงานโดยการสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
5. การสร้างวินัยเชิงบวก (Positive Discipline): ปฏิบัติต่อเด็กในฐานะผู้กำลังเรียนรู้โดยปราศจากการใช้ความรุนแรงและเคารพในศักดิ์ศรี ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมหรือคุณลักษณะด้วยกระบวนการเสริมแรงเชิงบวก

ในระดับครูผู้สอน จะต้องมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1) Effective Syllabus : กำหนดหน่วยการเรียนรู้/หลักสูตรระดับรายวิชาที่มีประสิทธิภาพ
2) Effective Lesson Plan : จัดทำแผนการสอน/แผนจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
3) Effective Teaching : จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน จุดประสงค์การเรียนรู้หรือเนื้อหาสาระ
4) Effective Assessment : วัดและประเมินผลอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความสำคัญกับการประเมินตามสภาพจริง
สรุปได้ว่า “ห้องเรียนคุณภาพ น่าจะเป็นสื่อที่ดี ที่จะสะท้อนไปยังนักเรียน ครูและผู้บริหาร”

ที่มา: http://www.kroobannok.com/30322
            http://www.google.co.th/search